วิสัยทัศน์ (VISION)
“ ขับเคลื่อนหลักสูตรอย่างหลากหลาย ภายใต้ครูมืออาชีพ สร้างผู้เรียนให้มีทักษะในศตวรรษที่ 21 เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการและคุณธรรม มุ่งสู่โรงเรียนคุณภาพมาตรฐานสากลในปี 2567 ”
พันธกิจ (MISSION)
- พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาสู่ความเป็นสากล โดยใช้แนวคิดหลักสูตรอิงมาตรฐาน / อิงสมรรถนะ
- ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะ คุณลักษณะในศตวรรษที่ 21 และมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาสู่สากล
- พัฒนาครูและบุคลากรให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพตามเกณฑ์
- พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
- ส่งเสริมภาคีเครือข่ายทางการศึกษาให้เข้มแข็ง
เป้าประสงค์ (GOAL)
- พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่ตอบสนองทักษะพื้นฐาน ความถนัด ความสนใจ ความต้องการของผู้เรียน และส่งเสริมความเป็นเลิศ
- พัฒนากระบวนการเรียนรู้กระบวนการบริหารหลักสูตรและการเรียนการสอนสู่ความเป็นสากลบนพื้นฐานความเป็นไทย และเป้าหมายโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
- น้อมนำพระบรมราโชบายรัชกาลที่ 10 หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สู่การพัฒนาความเป็นพลเมืองไทยและความเป็นพลโลก ตามกรอบรัฐธรรมนูญมาตราที่ ๕๐ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ให้สอดคล้องกับดัชนีการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs 2003)
- จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้มีความรักในสถาบันหลักของชาติ มีทัศนคติที่ดีต่อบ้านเมือง มีหลักคิดที่ถูกต้องเป็นพลเมืองดีของชาติและพลเมืองโลกที่ดีมีคุณธรรมจริยธรรม
- กิจกรรมน้อมนำพระบรมราโชบายรัชกาลที่ 10 หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่กระบวนการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) และสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- พัฒนาสมรรถนะผู้เรียนเป็นทักษะจำเป็นในศตวรรษที่ 21 ทักษะวิชาการทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ โดยยึดกระบวนการเรียนรู้จากการปฏิบัติ ( Active Learning )
- ยกระดับคุณภาพผู้เรียนได้รับการพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
- พัฒนาทักษะการคิด วิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณคิดแก้ปัญหาและสร้างสรรค์นวัตกรรม
- ยกระดับสมรรถนะการรู้เรื่องการอ่าน การรู้เรื่องคณิตศาสตร์ และการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ ตามแนวทางการประเมิน PISA
- พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษตามกรอบอ้างอิงของยุโรป ( CEFR ) ในระดับ A1 , A2 สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และในระดับ B1 , B2 สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
- เร่งรัดการพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะทางด้านดิจิทัลในการเรียนรู้ ในระดับการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้และการสร้างแหล่งเรียนรู้ทางเทคโนโลยี
- ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษานำ Digital Technology มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ตามสมรรถนะ ความต้องการ และความถนัดพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนเป็นนวัตกร ( Innovator ) ผู้สร้างนวัตกรรม พัฒนาระบบคลังข้อมูลองค์ความรู้ในรูป Digital bank บนระบบคราวน์ ( Cloud ) และให้ผู้เรียนพัฒนาตนเองผ่าน Digital Platform ได้
- การพัฒนาศักยภาพผู้เรียนตามสมรรถนะหลัก 5 ประการ
- พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (CLT)
- โรงเรียนจัดการเรียนรู้โดยส่งเสริมการเรียนรู้ตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจของผู้เรียน
- พัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม และการปรับตัวตามยุคของการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว
- เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มี คุณธรรม จริยธรรม และมีฝีมือ ความรู้ ความสามารถ และทันต่อเทคโนโลยี ให้ตรงตามความต้องการของสถานประกอบการ
- ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การทดสอบระดับชาติ (O-NET) ให้คะแนนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับชาติ และพัฒนาทักษะภาษาที่ 2 เพื่อการติดต่อสื่อสาร
- พัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู้กระบวนการเรียนรู้และสามารถนำไปใช้ประยุกต์เข้ากับภาคปฏิบัติในเพื่อเตรียมบุคลากรทางด้านอาชีวศึกษาเข้าสู่ตลาดแรงงาน
- พัฒนากระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีทักษะในยุคศตวรรษที่ 21 ในการปฏิบัติงานวิชาชีพที่ตรงกับความต้องการของสถานประกอบการ เพราะนักเรียนนักศึกษา ฝึกอาชีพจริงอยู่ในสถานประกอบการโดยเทียบเคียงสมรรถนะผู้เรียนกับกรอบคุณวุฒิแห่งชาติในระดับที่ 1 และระดับที่ 2
- ส่งเสริมให้ครูมีการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ ตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลที่ กคศ.กำหนดใน พรบ. ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547
- พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ และ Digital
- พัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพตามกรอบ พรบ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546
- ยกระดับมาตรฐานวิทยฐานะของครูโดยเน้นการวิจัยเพื่อการเรียนรู้ เป็นฐานในการพัฒนาสู่คุณภาพผู้เรียน
- พัฒนาทักษะการปฏิบัติงานและส่งเสริมให้ครูปฏิบัติหน้าที่ตามความสามารถ
- การพัฒนาสื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา
- พัฒนารูปแบบการบริหารงบประมาณอย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ คุ้มค่า โปร่งใส ตรวจสอบได้
- ส่งเสริม สนับสนุน ให้สถานศึกษา นำDigital Technology มาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ
- การพัฒนาแหล่งเรียนรู้และจัดสภาพแวดล้อมให้หลากหลาย เอื้อต่อการเรียนรู้
- พัฒนารูปแบบการบริหารของสถานศึกษาให้มีความโดดเด่นเฉพาะตัว
- ส่งเสริมและพัฒนาความเข้มแข็งของภาคีเครือข่าย
- ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน และภาคีเครือข่าย
- ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในด้านการบริหาร การพัฒนาครูและบุคลากร และการพัฒนาผู้เรียน
- สนับสนุนการระดมงบประมาณและทรัพยากรทางการศึกษา
- สร้างเครือข่ายความร่วมมือและส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนของสังคมเข้ามามีส่วนร่วมบริหารจัดการการศึกษา
ยุทธศาสตร์ ( Strategic )
- ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กระบวนการบริหารหลักสูตรและการเรียนการสอนสู่ความเป็นสากลบนพื้นฐานความเป็นไทย ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเป้าหมายโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยใช้แนวคิดหลักสูตรแบบอิงมาตรฐาน/อิงสมรรถนะ และสภาวะแวดล้อมโลก
- ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาศักยภาพผู้เรียนให้มีความรอบรู้ ทักษะวิชาการขั้นสูง ทักษะชีวิตเพื่ออยู่ร่วมกันผู้อื่น ทักษะวิชาชีพที่เอื้อต่อการประกอบอาชีพ และคุณลักษณะในศตวรรษที่ 21
- ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นครูและบุคลากรทางการศึกษามืออาชีพ
- ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาระบบการบริหารให้ทันสมัย โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการทำงาน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษา ใช้ทรัพยากร พัฒนาอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า โปร่งใส ตรวจสอบได้
- ยุทธศาสตร์ที่ 5 การสร้างภาคีเครือข่าย ความร่วมมือ สนับสนุนทรัพยากรทางการศึกษาภายใต้ความรับผิดชอบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม (CSR) ที่กฎหมายเอื้ออำนวย
5,929 total views, 2 views today